ประชุมสภาศิลปะและวัฒนธรรม มรภ.แห่งประเทศไทย ประจำปี 2566

พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์ เสด็จพระราชดำเนินทรงเป็นประธานเปิดนิทรรศการ และประทานรางวัลแก่ผู้มีคุณูปการต่องานด้านศิลปวัฒนธรรม ในการประชุมวิชาการสภาศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งประเทศไทย ประจำปี 2566
——————————-
เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2566 ณ โครงการจัดตั้งสถาบันพัฒนาการท่องเที่ยวและสหวิทยาการสมุย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี (มรส.) พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์ เสด็จพระราชดำเนินทรงเป็นประธานเปิดนิทรรศการ “ผ้ายก พัสตราภรณ์ล้ำค่า ภูษาของแผ่นดิน” และประทานรางวัลแก่ผู้มีคุณูปการต่องานด้านศิลปวัฒนธรรม ในการประชุมวิชาการสภาศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งประเทศไทย ประจำปี 2566 โดยมีสำนักศิลปและวัฒนธรรม จากมหาวิทยาลัยราชภัฏ 38 แห่ง และหน่วยงานด้านศิลปวัฒนธรรม เข้าร่วม
#ในการนี้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พจนีย์ สุขชาวนา อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี และ ดร.เศกสิทธิ์ ปักษี ผู้อำนวยการสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี ได้เข้าเฝ้ารับเสด็จและรับประทานเข็มที่ระลึกในครั้งนี้ด้วย
——————————–
📨 ประชุมสภาศิลปะและวัฒนธรรม มรภ.แห่งประเทศไทย ประจำปี 2566
ดร.เศกสิทธิ์ ปักษี ผู้อำนวยการสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี เข้าร่วมประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2566 ของสภาศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2566 ณ โครงการจัดตั้งสถาบันพัฒนาการท่องเที่ยวและสหวิทยาการสมุย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี
📌สำหรับการประชุมวิชาการสภาศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งประเทศไทย ประจำปี 2566 เป็นร่วมมือกันทำงานด้านศิลปวัฒนธรรมในลักษณะเครือข่ายที่จะทำให้การดำเนินงานตามภารกิจของสำนักศิลปะและวัฒนธรรมบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ในด้านการสนับสนุน ถ่ายทอด ส่งเสริม และเผยแพร่ศิลปะวัฒนธรรม รวมทั้งภูมิปัญญาท้องถิ่นทั้งในระดับชาติและนานาชาติ เพราะการดำเนินงานภายใต้ความร่วมมือเครือข่ายศิลปวัฒนธรรมจะลดปัญหาการทำงานซ้ำซ้อนที่อาจทำให้สิ้นเปลือง ทรัพยากร บุคคลากร งบประมาณ และเวลา นอกจากนี้ การดำเนินงานในลักษณะเครือข่ายศิลปวัฒนธรรมจะสร้างพลังในการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาด้านศิลปวัฒนธรรม โดยเฉพาะการรวมตัวกันเป็นเครือข่ายใหญ่เพื่อเชื่อมต่อโยงใย (Connect) บุคลากรที่ทำงานด้านศิลปวัฒนธรรมเข้าไว้ด้วยกัน ซึ่งเป็นกระบวนการที่จะทำให้คนมาเจอกันได้อย่างกว้างขวาง นับว่าเป็นกลไกสำคัญที่ทำให้การขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาด้านศิลปวัฒนธรรมเป็นไปอย่างมีพลังและต่อเนื่อง เพื่อแลกเปลี่ยนผลงานด้านศิลปวัฒนธรรม
.
📧โดยในงานมีการจัดแสดงนิทรรศการผ้ายก พัสตราภรณ์ล้ำค่า ภูษาสองแผ่นดิน แบ่ง ออกเป็น 5 บูธ ประกอบด้วยบูธที่ 1 ผ้ายกไทย-อินโดนีเซีย บูธที่ 2 ผ้ายกจากท้องถิ่นภาคใต้ บูธที่ 3 ผ้ายกจากท้องถิ่นภาคกลาง บูธที่ 4 ผ้ายกจากท้องถิ่นภาคเหนือ และบูธที่ 5 ผ้ายกจากท้องถิ่นภาคอีสาน ซึ่งมรดกผ้ายกนับว่าเป็นทุนทางวัฒนธรรมที่นับว่าเป็นปัจจัยสี่ของมนุษย์ที่ต้องใช้เครื่องนุ่งห่มในการดำรงชีวิตประจำวัน ผ้ายกนูนมีความพิเศษที่มีลักษณะลวดลายของผ้าที่มีความแตกต่างออกไปตามอัตลักษณ์ของท้องถิ่น ที่บ่งบอกถึงความประณีต วิจิตรงดงาม ที่แฝงความหรูหราของผู้ออกแบบ ที่สามารถนำไปสวมใสในวาระโอกาสพิเศษ เช่น งานมงคลต่าง ๆ งานเฉลิมฉลอง
#ขอแสดงความยินดีกับ 🎉ดร.เศกสิทธิ์ ปักษี ผู้อำนวยการสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี ที่ได้รับรางวัล “ราชภัฏคุณาธร”
#ขอแสดงความยินดีกับ 🎊ดร.พยุง ใบแย้ม ที่ได้รับรางวัล “ภูมิราชภัฏ” ภูมิปัญญาชุมชน
—————————–
📑 #สืบสานศิลปวัฒนธรรม พัฒนาภูมิปัญญา นำสังคมก้าวหน้า ต่อยอดคุณค่าสู่สากล

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *